วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Class5: Information Technology Economics

การตัดสินใจลงทุนในโครงการ IT ควรทำผ่าน Cost – Benefit Analysis
Moore’s Law กล่าวว่าศักยภาพของชิพคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 18 ถึง 24 เดือน ในขณะที่ต้นทุนจะอยู่ในระดับคงที่ ดังนั้น อัตราส่วนระหว่างราคาต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานจะลดลงแบบทวีคูณ และยังคาดการณ์ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะมีขีดการพัฒนาที่จำกัดจนในที่สุดต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีรูปแบบอื่นมาแทนที่
Productivity Paradox เป็นความขัดแย้งระหว่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการผลิต ทั้งในระดับเศรษฐกิจและระดับกิจการ โดยมีสาเหตุอันได้แก่
1.        มาตรวัดการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ไม่ชัดเจน ทำให้บางครั้งแม้ลงทุนใน IT ไปแล้วก็ไม่สามารถเห็นผลได้ในรูปของตัวเลขที่เพิ่มขึ้น
2.        ประสิทธิผลการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นอาจถูกหักกลบด้วยผลการดำเนินงานของแผนกอื่นที่ลดลง เนื่องจากถูกปันงบประมาณส่วนหนึ่งมาเพื่อพัฒนา IT
3.        ประสิทธิผลการผลิตที่เพิ่มขึ้นอาจถูกหักกลบโดยต้นทุนการลงทุนใน IT ในมูลค่าที่สูงมาก
4.        การลงทุนใน IT ใช้ระยะเวลากว่าจะเห็นผล (เกิด Time Lag)
5.        การใช้งานของระบบ IT จริงอาจแตกต่างจากที่คาดหรือวางแผนไว้ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามคาด
Productivity เราควรโฟกัสว่าการลงทุนใน IT ช่วยให้ประสิทธิผลในการผลิตในระดับองค์กรเพิ่มขึ้นหรือไม่
·        Direct Impact ได้แก่ ลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย
·        Second-order Impact ได้แก่ ส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น ความพึงพอใจของลูกค้า รวมถึงในแง่ภาพลักษณ์องค์กรที่ดีขึ้น
เหตุใดจึงต้องมีกระบวนการตัดสินใจก่อนการลงทุนใน IT (Justify IT Investment)
·        การแข่งขันภายในอุตสาหกรรมที่รุนแรง ดังนั้นการลงทุนจึงต้องคุ้มค่าสูงสุด
·        ราคาหลักทรัพย์มักเพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีการประกาศเกี่ยวกับการลงทุนใน IT ของบริษัท
·        การประเมินโครงการ IT ควรทำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะแม้ภายหลังเสร็จสิ้นการลงทุน
·        ความสำเร็จของโครงการ IT อาจใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดโบนัสให้แก่พนักงาน
ประเภทของโครงการที่สามารถตัดสินใจได้เลยในทันทีโดยไม่ต้อง justify ได้แก่
1.       โครงการที่ใช้เงินลงทุนน้อย
2.       โครงการลักษณะ Infrastructure (มีความจำเป็นในการดำเนินงาน)
3.       โครงการที่ผู้บริหารสั่งให้ดำเนินการ
4.       โครงการที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ (ควร justify แบบ Qualitative แทน)
ความยากในการวัดประสิทธิผลในการผลิตและผลประกอบการที่ดีขึ้น
·        ระบุเกณฑ์การวัดที่ผิดพลาด ควรแก้ไขโดยการใช้ KPI ในการวัดผลการดำเนินงาน เพราะจะทำให้การวัดประสิทธิภาพมีความรอบด้านยิ่งขึ้น
·        การเกิด Time lag แก้โดยการวัดผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ
·        การหาความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนใน IT กับผลประกอบการที่ดีขึ้นจากการลงทุนทำได้ยาก
·        ผลประโยชน์ที่มิได้อยู่ในรูปตัวเงิน วัดเป็นมูลค่าได้ยาก เช่น การที่บริษัทสามารถ launch product ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น การวัดความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งอาจทำโดยการตั้ง set คำถามและใช้ scale ranking ในการแปลงเป็นมูลค่า
·        ผลประโยชน์ในลักษณะรูปแบบการสื่อสารภายในองค์ที่สะดวกรวดเร็วขึ้น สามารถวัดมูลค่าได้ยากเช่นกัน
วิธีการคำนวณมูลค่าผลประโยชน์ที่มิได้อยู่ในรูปตัวเงิน ให้ประมาณการผลประโยชน์เป็นรูปตัวเงินโดยคร่าว อาจใช้การมองภาพกว้างและคิดเชิงกลยุทธ์ ก่อนจะนำไปสู่ผลที่ได้รับในรูปตัวเงิน โดยค่อยๆมองภาพจากผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นแล้วคิดผลตอเนื่องไปเรื่อยๆ เช่น การลงทุนใน Data Warehouse ผลประโยชน์แนกที่จะได้รับคือการมีคลังข้อมูลเก็บไว้ ซึ่งจะส่งผลให้เราทราบความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดกิจการเพิ่มขึ้นในที่สุด เป็นต้น นอกจากนี้ให้พยายามมองแสวงหาโอกาสต่างๆที่อาจเข้ามาโดยมิได้คาดหมายที่อาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น เช่น โครงการ “คิดรสให้เลย์” ทำให้บริษัทไม่ต้องเสียค่า R&D อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มยอดขายได้อย่างมากอีกด้วย
IT Investment cost ประเด็นปัญหาสำคัญคือการปันส่วนต้นทุนคงที่ transaction cost อันได้แก่
·        Search
·        Information
·        Negotiation
·        Decision
·        Monitoring
โครงสร้างรายได้ของ IT และ web ได้แก่
·        Sales การจำหน่ายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์
·        Transaction fees รายได้การทำธุรกรรมผ่านเว็บในรูปค่านายหน้า เช่น EBaY
·        Subscription fees รายได้จากการสมัครสมาชิก เช่น 4shared quickload
·        Advertising fees รายได้ค่าโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์
·        Affiliate fees รายได้จากยอดขายผ่านการโฆษณาทาง banner หน้า web
เทคนิคในการทำ Cost-Benefit Evaluation โดยแต่ละวิธีมีหลักในการคำนวณที่แตกต่างกัน ส่งผลในการเลือกโครงการลงทุนที่แตกต่างกันไปด้วย
1.       Net Profit ส่วนต่างระหว่างต้นทุนและรายได้ตลอดอายุโครงการ (ไม่คำนึงถึง Time value of money)
2.       Payback period ระยะเวลาทั้งหมดก่อนถึงจุดคุ้มทุน ข้อเสียคือไม่คำนึงถึงรายได้ภายหลังจุดคุ้มทุนซึ่งอาจมีมูลค่าสูงกว่าในภายหลัง
3.       Return on Investment (ROI) หรือ Accounting rate of return (ARR)
= (average annual profit/total investment) x 100
4.       Net Present Value (NPV) การคิดลดกระแสเงินสดแต่ละงวดโดยใช้ต้นทุนเงินลงทุน (WACC) ซึ่งคำนึงถึง Time value of money เหมาะในการใช้ตัดสินใจว่าจะควรลงทุนในแต่ละโครงการหรือไม่ (ควรลงทุนเมื่อ NPV เป็นบวก และไม่ควรลงทุนเมื่อ NPV เป็นลบหรือ 0)
5.       Interest rate of return (IRR) เป็นการหาอัตราคิดลดที่ทำให้ NPV ของแต่ละโครงการเป็น 0 ข้อดีเหนือ NPV คือสามารถใช้เปรียบเทียบโครงการที่มีขนาดและอายุต่างกันได้
TCO (Total Cost of Ownership) ได้แก่ acquisition cost, operations cost และ control cost
Payoff = TBO – TCO
การใช้ Benchmark ในการประเมินการลงทุน ควรเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมและคู่แข่งที่มีผลประกอบการดีที่สุด
Balance Scorecard มองผลการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
·        Financial Perspectives พิจารณาการเพิ่มขึ้นของรายได้และกำไร รวมถึงการลดลงของต้นทุน
·        Customer Perspectives พิจารณาความพึงพอใจของลูกค้า ส่วนแบ่งตลาด การรักษาฐานลูกค้าเดิมและดารขยายตลาดใหม่
·        Internal Process Perspectives พิจารณาประสิทธิภาพกระบวนการทำงานภายในองค์กร ได้แก่ ในแง่กระบวนการผลิต ทักษะพนักงาน คุณภาพสินค้า วงจรเวลาและการปฏิบัติงานอื่นๆ
·        Learning and Growth Perspectives พิจารณาด้านบุคลากรขององค์กร ได้แก่ ทัศนคติพนักงานและอัตราการเข้าออก เป็นต้น
ภัคนิจ แดงสุภา 5202112602

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น