วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Class4: Acquisition and Options

Outsourcing, Offshoring, and IT as a Subsidiary
เหตุผลในการ Outsource องค์กรส่วนใหญ่มัก outsource ส่วนงานที่เป็น supporting activities เนื่องจากช่วยให้องค์กรสามารถ focus core business ของตนเองได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันยังเป็นการลดต้นทุนในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่เราขาดความชำนาญ และเป็นการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์รวมถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน อีกทั้งยังสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากบริษัทที่เรา outsource จะมีความชำนาญใน field งานของตนและสามารถ update ความเคลื่อนไหว รวมถึงนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการ Outsource ได้แก่
·        Shirking คือ ผู้ถูกจ้างทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรหรือผลสำเร็จของงานไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ได้กำหนดร่วมกันไว้ล่วงหน้า แต่บริษัทยังคงมีภาระผูกพันในการจ่ายชำระค่าสินค้าและบริการเต็มจำนวน
·        Poaching บริษัทที่ถูกจ้างนำกลยุทธ์ที่ได้พัฒนาร่วมกันไปใช้กับบริษัทอื่นที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน
·        Opportunistic repricing บริษัทได้ทำสัญญาแบบ Long-term ไว้กับบริษัท outsource ทำให้เกิดความเสี่ยงที่คู่สัญญาจะขอต่อรองได้ประเด็นต่างๆ เช่น ขอขึ้นราคาค่าจ้าง หรือยืดอายุสัญญาออกไป โดยอ้างว่ายังทำงานไม่เสร็จ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น
ต้นทุนแฝงของการ Outsource
1.       Benchmark & Analysis การที่บริษัทต้องทำการพิจารณาเปรียบเทียบถึงต้นทุนและผลแประโยชน์ที่จะได้รับจากการ outsource อย่างละเอียดถี่ถ้วน ว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับคุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไปหรือไม่
2.       Investigating & Contracting with a vendor ต้นทุนในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท outsource และต้นทุนในการทำสัญญา
3.       Transmitting work& knowledge to outsourcer การถ่ายโอนแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างบริษัทและผู้ถูกว่าจ้าง โดยทั้งสองฝ่ายควรเรียนรู้และเข้าใจถึงระบบการทำงานของกันและกัน เพื่อให้ขอบเขตกระบวนการทำงานมีความชัดเจนและการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น
4.       Ongoing staffing & management of outsourcing relationship การสานสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทั้งสององค์กร ให้มีแนวทางการปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
5.       Transitioning back to in-house การนำองค์ความรู้และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นจากการ outsource กลับเข้ามายังองค์กร

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในการ Outsource
1.       Understand Project ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจโครงการอย่างถี่ถ้วน
2.       Divide & conquer การแบ่ง project ใหญ่ออกเป็น phase ย่อยๆ เพื่อให้เกิด workflow ที่ดียิ่งขึ้น
3.       Align incentive มีการสร้างแรงจูงใจโดยการให้รางวัลเป็นรายกิจกรรม เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิผลมากขึ้น
4.       Write short-period contracts การทำสัญญาระยะสั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยง Opportunistic repricing และเพื่อให้ผู้ถูกว่าจ้างมีความตั้งใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการตัดสินใจต่ออายุสัญญาขึ้นกับ performance ในแต่ละ period เวลา
5.       Control subcontracting ในบางครั้งบริษัทที่เราว่าจ้างอาจมีการทำ subcontract คือทำสัญญาต่อไปอีกทอด ดังนั้นเพื่อให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพ เราควรมีส่วนในการควบคุมดูแลคุณภาพการทำงานของบริษัทดังกล่าวด้วย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่องานที่ทำ
6.       Do selective outsourcing ควรเลือกส่วนงานที่จะ outsource คือ outsource เฉพาะหน่วยงานที่มีความจำเป็น และไม่ควรเป็น core business

ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเมื่อทำ Offshore Outsourcing
1.       สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่เลือก
2.       โครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่เลือกว่ารองรับต่อธุรกิจของเราหรือไม่
3.       ความเสี่ยงอื่นๆ

Acquisition Process of IT Application
Step1: วางแผนว่าต้องการระบบแบบใด
Step2: วางโครงสร้าง IT
Step3: เลือกวิธีการ acquire (พัฒนาขึ้นเอง, ซื้อจากผู้ผลิต, ซื้อที่มีอยู่แล้ว, เช่า)
Step4: ทดสอบและติดตั้ง ทดลองเชื่อมต่อกับระบบเดิม
Step5: การปฏิบัติการ การซ่อมบำรุงและอัพเดทข้อมูล

เปรียบเทียบการได้มาซึ่งระบบ IT ระหว่างการ Rent, Buy และ Build
1.       Rent บริษัทจะเลือกวิธีการเช่า เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บริษัทจะได้ไม่ต้องเสียเงินเต็มจำนวนและสามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้ในทันทีเมื่อเกิดการล้าสมัย
2.       Buy บริษัทจะเลือกวิธีการซื้อ เมื่อมีความจำเป็นในการใช้ระบบนี้อย่างถาวร และบริษัทมีบุคลากรที่สามารถดูแลรักษาระบบได้
3.       Build บริษัทจะเลือกการสร้างระบบขึ้นเอง เมื่อเป็นระบบที่ไม่มีในท้องตลาดและต้องการ customized หรืออาจเป็นเพราบริษัทได้ลงทุนไปเยอะแล้วกับระบบเก่าจึงต้องการพัฒนาต่อไป

ภัคนิจ แดงสุภา 5202112602

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น