วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Class1: Introduction to Information Technology

ภัคนิจ แดงสุภา 5202112602

เรื่องที่เรียนวันนี้เกี่ยวข้องกับความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ IT ได้เข้าไปแทรกซึมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรทั้งขนาดเล็กและใหญ่ทั่วทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการหลักขององค์กร อันได้แก่ Accounting Marketing และ Finance รวมถึงระบบปฏิบัติการรอง เช่น Production/Operation Human Resource และอื่นๆ โดยการประยุกต์ใช้ IT กับ Model ทางธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ การวางแผนกลยุทธ์ การปฏิบัติการ การกำกับดูแล รวมถึงการประเมินผลและเสนอแนวทางแก้ไข ดังนั้น แม้กิจการจะสามารถดำเนินงานได้โดยปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างไรก็ตามอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพขององค์กรลดลงจนขาดความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage) เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมและโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ในชีวิตประจำวัน IT เข้ามามีบทบาทกับคนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการเป็น Social Network ไม่ว่าจะเป็น facebook หรือ twitter ที่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนในสังคมในแง่การติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน รวมถึง Netflix และ TV on Demand ที่ให้บริการภาพยนตร์จากฐานข้อมูลที่ share ร่วมกัน ซึ่งตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Economy ที่เน้นการให้บริการข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงในรูปแบบของสื่อที่ไม่สามารถจับต้องได้ ซึ่งจะทำให้ trend ของผลิตภัณฑ์ทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป โดยจะเน้นการขาย content เช่น application ต่างๆใน iPhone รวมถึง MP3 download และภาพยนตร์ online เป็นต้น
สำหรับกระแสของเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงคือ Green IT หรือเทคโนโลยีรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ server ให้น้อยลงรวมถึงการซ่อมแซมคอมพิวเตอร์ที่เสียให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อกิจการทั้งในแง่ของการประหยัดภาษี สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย
การลงทุนใน IT จะคุ้มค่าหรือไม่นั้นขึ้นกับการวางแผนและมุมมองต่ออนาคตของผู้บริหาร บางบริษัทได้ประโยชน์จากการเป็น First Mover เช่น ebaY และ Apple ที่ยังครองความเป็นผู้นำตลาดได้จนถึงปัจจุบัน ผ่านนวัตกรรมการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ แต่การวางแผนที่ไม่รัดกุมเพียงพอกลับส่งผลให้บางบริษัทประสบความล้มเหลว เช่น Sony AOL และ Netscape ที่สุดท้ายต้องเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น